ออฟฟิศ ซินโดรม (Office Syndrome) ภัยร้าย อันตรายกว่าที่คิด !!!

       เนื่องจากสภาพแวดล้อมและพฤติกรรมของคนวัยทำงานส่วนใหญ่ในปัจจุบันมักจะอยู่หน้าจอคอมพิวเตอร์เป็นเวลานาน นั่งทำงานโดยที่ไม่มีการเคลื่อนไหวร่างกาย ไม่มีการยืดเหยียดผ่อนคลายกล้ามเนื้อ มีการใช้สายตาเพ่งหน้าจอคอมพิวเตอร์นานๆ และลักษณะของการทำงานที่ยาวนานเกินไปและพักผ่อนน้อย ก่อให้เกิดความเครียด ปวดศีรษะปวดตา ปวดกล้ามเนื้อเรื้อรัง ซึ่งนำไปสู่โรคยอดฮิต นั่นก็คือ ออฟฟิศซินโดรม (office syndrome)

มาทำความรู้จักกับออฟฟิศซินโดรม (office syndrome)

          ออฟฟิศซินโดรม (office syndrome) เป็นกลุ่มอาการที่พบได้บ่อยในคนวัยทำงาน โดยสาเหตุมักเกิดจากสภาพแวดล้อมและพฤติกรรมการทำงานที่ไม่เหมาะสม เช่น นั่งทำงานใช้คอมพิวเตอร์เป็นเวลานานโดยไม่มีการปรับเปลี่ยนอิริยาบท การนั่งไขว่ห้าง นั่งเก้าอี้ไม่เต็มก้น ใส่รองเท้าส้นสูงมากกว่าหนึ่งนิ้วครึ่งขึ้นไป การนั่งหลังค่อมหรือนั่งหลังโก่ง สภาพโต๊ะหรือเก้าอี้ไม่เหมาะกับสรีระร่างกาย ส่งผลให้เกิดการปวดกล้ามเนื้อ เนื่องจากกล้ามเนื้อมัดเดิมถูกใช้งานซ้ำๆเป็นเวลานาน

ซึ่งในระยะแรกนั้นอาจมีอาการไม่มาก แต่เมื่อปล่อยทิ้งไว้เป็นเวลานานอาจลุกลามจนกลายเป็นอาการปวดเรื้อรัง หากลองสังเกตอาการเบื้องต้นของออฟฟิศซินโดรม มักพบว่าผู้ป่วยจะมีความรู้สึกเจ็บแปล๊บเหมือนถูกไฟซ้อต รู้สึกเจ็บจี๊ดเหมือนถูกเข็มตำ แสบผิวหนัง ปวดร้าวปลายประสาท รวมทั้งเกิดอาการชาที่บริเวณแขนหรือมือเนื่องจากเส้นประสาทส่วนปลายถูกกดทับอย่างต่อเนื่อง ทำให้เกิดการบาดเจ็บของเส้นประสาท  ซึ่งหากปล่อยให้มีอาการต่อไปเรื่อยๆโดยที่ไม่ได้รับการรักษา อาจทำให้เกิดโรคปลายประสาทอักเสบ หรือโรคกระดูกเรื้อรัง ซึ่งโดยปกติแล้วหากเส้นประสาทมีการบาดเจ็บเล็กน้อยหรือบางส่วนก็สามารถซ่อมแซมตัวเองได้ แต่หากปล่อยทิ้งไว้จนเส้นประสาทเสียหายไปถึงจุดที่เรียกว่า “point of no return” โอกาสในการซ่อมแซมตัวเองของเส้นประสาทจะค่อนข้างน้อย อาจนำไปสู่อาการรุนแรงอื่นๆ ที่อาจทำให้เดินหรือเอี้ยวตัวไม่ได้ นำไปสู่การรักษาด้วยการผ่าตัดหรือการทำกายภาพบำบัดที่ยากขึ้น เพราะฉะนั้นการตรวจและรักษาตั้งแต่เนิ่นๆจึงเป็นสิ่งสำคัญในการรักษาโรคปลายประสาทอักเสบ

โดยในเบื้องต้นเราอาจสังเกตอาการบางอย่างได้ด้วยตัวเอง เช่น

  • รู้สึกชาที่มือและเท้า คล้ายใส่ถุงมือถุงเท้าอยู่
  • บางครั้งรู้สึกเจ็บเหมือนถูกเข็มตำ มีไฟฟ้าช็อต หรือมีมดไต่ที่ผิวหนัง บริเวณมือและเท้า
  • กล้ามเนื้อส่วนปลายอ่อนแรง อาจมีปัญหาเรื่องการทรงตัว
  • มีความไวต่อความรู้สึกร้อนหรือเย็นน้อยกว่าปกติ

หากมีอาการเหล่านี้ แนะนำให้ปรึกษาแพทย์เพื่อรับการวินิจฉัยและการรักษาที่เหมาะสมต่อไป

สำหรับผู้ที่สนใจสามารถตรวจเช็คอาการเบื้องต้นได้ที่ FB : อย่าเฉยเมื่อเกิดอาการชา หรือสแกน QR Code นี้ได้เลย

การป้องกันและการรักษาออฟฟิศซินโดรม (office syndrome)

เราสามารถป้องกันการเกิดออฟฟิศซินโดรมได้ด้วยการปรับพฤติกรรมและสภาพแวดล้อมในการทำงานให้เหมาะสม เช่น

  • การปรับระดับความสูงของเก้าอี้ให้มีความเหมาะสม รวมทั้งปรับตำแหน่งหน้าจอคอมพิวเตอร์ให้อยู่ในระดับสายตา
  • จัดวางของบนโต๊ะทำงานให้เป็นระเบียบ เพื่อการเคลื่อนไหวและหยิบจับสิ่งของได้อย่างสะดวก
  • การปรับเปลี่ยนอิริยาบท มีการลุกเดิน ยืดเหยียดผ่อนคลายกล้ามเนื้อและสายตาทุกๆ 30 นาที การไม่นั่งหลังค่อม หลังโก่ง นั่งให้เต็มเบาะ
  • การออกกำลังกายเพื่อเพิ่มความแข็งแรงและความยืดหยุ่นของกล้ามเนื้อ

นอกจากการใช้กล้ามเนื้อมัดเดิมซ้ำๆเป็นเวลานานแล้วนั้น อีกสาเหตุหนึ่งของการอักเสบของเส้นประสาทบางตำแหน่งมีสาเหตุมาจากการขาดวิตามินบีบางชนิด ซึ่งประโยชน์ของวิตามินบีนั้นมีหลายด้าน

  • วิตามินบี 1 ช่วยเพิ่มพลังงานให้กับเซลล์ประสาท
  • วิตามินบี 6 ช่วยสร้างสารสื่อประสาท ทำให้การส่งกระแสประสาทระหว่างเซลล์ประสาทเป็นไปตามปกติ
  • วิตามินบี 12 ช่วยในการสร้างและซ่อมแซม Myelin Sheath (ไมอีลิน ชีท) หรือปลอกหุ้มประสาท ซึ่งทำให้การเดินทางและความเร็วของกระแสประสาทเป้นไปตามปกติ

ซึ่งหากได้รับการเสริมด้วยวิตามินบีในปริมาณที่เหมาะสมและเพียงพอก็จะช่วยให้เส้นประสาทที่เสียหายมีโอกาสหายเป็นปกติได้มากขึ้นอีกด้วย

ซึ่งหากใครพบอาการผิดปกติที่เสี่ยงต่อการเกิดโรคปลายประสาทอักเสบ ควรรีบไปพบแพทย์เพื่อรับการวินิจฉัยและรักษาทันที เพื่อให้สามารถใช้ชีวิตประจำวันได้อย่างมีความสุข สุขภาพดี ห่างไกลโรคนั่นเอง หรือสามารถเข้ารับการตรวจคัดกรองเบื้องต้นได้ที่บูธกิจกรรม Nerve Check Activation” ตามร้านยาทั่วไป โดยสามารถเช็คตารางวัน เวลา และสถานที่ หรือสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ Facebook “อย่าเฉย เมื่อเกิดอาการชา” ซึ่งยังมีข้อมูลความรู้เกี่ยวกับสุขภาพ ทั้งเรื่อง โรคปลายประสาทอักเสบ, การดูแลตัวเองเพื่อป้องกันหรือบรรเทาอาการ เช่น อาหาร วิตามินที่ควรได้รับ ท่าบริหารร่างกาย NeuroMove (นิวโรมูฟ) ด้วยนะ

ใส่ใจคนที่คุณรัก อย่าเฉยเมื่อเกิดอาการชา